พวกเราครูฝึกสอนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


ผู้อำนวยการโรงเรียน นายประพัฒน์ คหินทรพงษ์ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน

ประวิติส่วนตัว


ชื่อ  :  นายโกฎ์ธิวิชญ์  สุเมธนัศวีกุล

โปรแกรมวิชา  :  คบ. 5  คณิตศาสตร์

รหัสนักศึกษา  :  494143016

ภูมิลำเนา  :  3/41  หมู่  7  ต.รวมไทยพัฒนา  อ.พบพระ  จ.ตาก  63160

หน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  :  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ  ราชบุรี



เบอร์โทรศัพท์  :  082 - 2988454


วิชาที่สอน  :  คณิตศาสตร์เพิ่มเติม  (ค 20201)
 
ชั้นที่สอน  :  ม.1/3,  ม.1/7,  ม.1/11,  ม.1/15 

ประวัติโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี



     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เป็นโรงเรียนมัธยศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาโรงเรียนเปิดรับสมัครสหศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปีแรก


     โรงเรียนเบญจมราชุทิศ ราชบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2429 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเริ่มจากใช้สถานที่ของวัดสัตตนารถปริวัตร (สร้างเมื่อ พ.ศ.2414) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาต่อมาในปี พ.ศ.2450 ทรงพะกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุง การศึกษาให้มีระบบ แบบแผนตามแบบตะวันตก จึงได้เปลี่ยนฐานะของฌรงเรียนเป็นโรงเรียนตัวอย่างวัดสัตตนารถปริวัตร ให้การศึกษาแก่กุลบุตร กุลธิดาตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2455 จึงได้มีอาคารเรียนถาวรเป็นตึก 2 ชั้น รูปทรงปั้นหยาขึ้น 1 หลังในที่ดินของวัดสัตตนารถปริวัตรโดยพ่อค้า ประชาชนและข้าราชการร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนามว่า "เบญจมราชูทิศ" แปลว่า อุทิศแด่พระราชาองค์ที่ 5 ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการได้ขนานามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลราชบุรีเบญจมราชูทิศ ต่อมา ปี พ.ศ.2459 จึงได้ขยายเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกปีที่ 3 และในปี พ.ศ.2460 ได้สร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง พ.ศ. 2462 นายแก้ว สุวรรณดิษ บริจาคเงินสร้างาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยาใต้ถุนสูง และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมปีที่ 5 ต่อมา ปี พ.ศ. 2469 ได้แยกนักเรียนหญิงทุกชั้นออกไปเรียนที่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดราชบุรี และได้ยุบเลิกการสอนชั้นมูล และชั้นประถมศึกษาเป็นการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม.1) ถึงมัธยมปีที่ 6 (ม.6) ปี พ.ศ.2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงได้บูรณะโรงเรียน ซื้อที่ดินเพิ่มเติม สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง พ.ศ.2497 จึงได้เปิดสอนถึงชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษา (ม.7 และ ม.8) พ.ศ.2512 สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น (อาคาร 1) พ.ศ.2514 รื้ออาคารหลังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จฯมาทรงเปิดเพราะชำรุดทรุดโทรมมาก พ.ศ. 2515 สร้างโรงอาหารในปัจจุบันโดยใช้งบประมาณของกองสลากกินแบ่งรัฐบาลสมทบกับเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียน ต่อมา พ.ศ.2516 รื้อเรือนแก้วสุวรรณดิษ และเรือนไม้สีเทา เพื่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น คืออาคาร 2 และอาคาร 3 พ.ศ.2529 สร้างอาคารอเนกประสงค์ พ.ศ.2530 สร้างอาคารสมาคมศิษญ์เก่าฯ โรงเรียนเบญจมราชุทิศ ราชบุรี ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีอาคารฝึกงาน 2 หลัง มีเบญจมราชุทิศพิพิธภัณฑ์ จนถึงปี พ.ศ.2540 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ จึงได้รับพระราชทานนามอาคารว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันเป็นวันที่โรงเรียนจัดงานฉลองครบรอบ 111 ปี การก่อตั้งโรงเรียนนเบญจมราชุทิศ ราชบุรี ปัจจุบันเรือนแก้วสุวรรณดิษ ทรุดโทรมมากไม่สามารถจะบรณซ่อมแซมต่อไปได้อีกในปี พ.ศ.2544 ทางโรงเรียนจึงขออนุญาตรื้อและนำชื่อ "เรือนแก้ว สุวรรณดิษ" ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ ส่วนพื้นที่ของเรือนแก้ว สุวรรณดิษใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักเรียนต่อไป


     ในปี พ.ศ.2546 โรงเรียนได้รับมอบที่ดินติดกับโรงเรียน ซึ่งเดิมเป็นเรือนจำกลาง จังหวัดราชบุรี จากกรมราชทัณฑ์ จำนวน 9 ไร่ 98 ตารางวา และได้ทำพิธีวางหมุดเขตพื้นที่ส่วนขยายและบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนเบญจมราชุทิศ ราชบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2546


วิสัยทัศน์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


ปลูกฝังคุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี มีคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


พันธกิจโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


1.ส่งเสริมปลูกฝังให้บุคลากรและผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


2.พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา



เป้าประสงค์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

นักเรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน



คุณลักษณะอันพึงประสงค์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


1.มีวินัย สามัคคีและความรับผิดชอบ


2.มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจ


3.มีความขยันหมั่นเพียร กระตือรือร้นและมีความสนใจที่จะเรียนรู้


4.มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี ปลอดภัยจากยาเสพติด



นโยบายโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้กำหนดนโยบายของโรงเรียน เพื่อตอบสนองนโยบาย และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้


1.มีความจงรักภักดี เทิดทูน และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


2.ส่งเสริมการกระจายโอกาสทางการศึกษาทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย


3.ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ และยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา


4.ส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นสถาบันที่พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม มีวิสัยทัศน์ในการทำงานการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้โดยสันติสุข และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต


5.ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ให้สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ เพื่อให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้


6.ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เน้นให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ


7.ส่งเสริมและพัฒนาการสอนของครู ให้มีกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนที่จบการศึกษามีคุณสมบัติตามความคาดหวังของหลักสูตร ทำให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม


8.เสริมสร้างคุณลักษณะการมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคมไทย และสังคมโลก ปลูกฝังคุณค่าแห่งความเป็นไทย มีจิตสำนึกสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน


9.ส่งเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องและเหมาะสม เกี่ยวกับด้านการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีพฤติกรรมประชาธิปไตยทั้งในครอบครัว โรงเรียนและสังคม


10.ส่งเสริมความรู้พัฒนาสุขภาพพลานามัยที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม


11.ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเยน และโครงการโรงเรียนสีขาว ด้วยการให้ความรู้ การป้องกันดูแล และหลีกเลี่ยงจากอบายมุข และสิ่งเสพย์ติดทั้งหลาย


12.ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน ส่งเสริมการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และสื่อมัลติมีเดีย


13.ส่งเสริมและพัฒนาครู บุคลากรของโรงเรียน เข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ


14.ส่งเสริมให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน และพัฒนาคุณภาพการศึกษามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน


15.ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ในการ่วมกันจัดและพัฒนาการศึกษาร่วมกัน



แผนกลยุทธ์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


1.พัฒนาคุณภาพของบุคลากรและผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและดำรงชีวิต โดยใช้


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


2.เร่งพัฒนาการบริหารจัดการในด้านอาคารสถานที่บรรยากาศสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้


สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการเรียนรู้


3.ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

ระเบียบข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

1.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน



2.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา


3.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด


4.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด


5.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย


6.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้


7.การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว


8.ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู


9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน


10.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง


11.นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์


12.นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ


13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ


14. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง


15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น


โครงการครูสหกิจ

     นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 54. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไป

เพื่อนๆที่น่ารักของกระผม